หัวข้อ   “ คสช. กับการปฏิรูปตำรวจไทยในสายตาประชาชน
ประชาชน 90.9% หนุนให้ คสช. ปฏิรูปวงการตำรวจ
67.1% เห็นด้วยให้ตำรวจขึ้นตรงกับผู้ว่าราชการจังหวัดที่มาจากการเลือกตั้ง
88.9% เห็นด้วยกับการลดบทบาทของฝ่ายการเมือง
พร้อมเสนอ ผบ.ตร. คนใหม่ แก้ปัญหาตำรวจ รับส่วย สินบน
 
 
 
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
                 ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) สำรวจ
ความคิดเห็นประชาชนจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศ เรื่อง “คสช. กับการปฏิรูป
ตำรวจไทยในสายตาประชาชน” ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 1,239 คน พบว่า
ประชาชนร้อยละ 57.8 พึงพอใจมากถึงมากที่สุดต่อการทำหน้าที่ของตำรวจไทย
ในปัจจุบัน
ขณะที่ร้อยละ 42.2 พึงพอใจน้อยถึงน้อยที่สุด
 
                  เมื่อถามว่าต้องการให้ คสช. ปฏิรูปวงการตำรวจหรือไม่ ร้อยละ
90.9 บอกว่า “ต้องการ”
มีเพียงร้อยละ 9.1ที่บอกว่า “ไม่ต้องการ” และเมื่อถามต่อ
ว่า “เห็นด้วยหรือไม่กับแนวคิดที่จะให้ตำรวจขึ้นตรงกับผู้ว่าราชการจังหวัด
ที่มาจากการเลือกตั้ง” ร้อยละ 67.1 บอกว่า “เห็นด้วย”
ขณะที่ร้อยละ 32.9 บอกว่า
“ไม่เห็นด้วย”
 
                 สำหรับความเห็นต่อคำสั่งของ คสช. ที่มีการปรับโครงสร้าง
คณะกรรมการนโยบายตำรวจเพื่อลดบทบาทของฝ่ายการเมืองนั้น ประชาชน
ร้อยละ 88.9 บอกว่าเห็นด้วย
มีเพียงร้อยละ 11.1 ที่ไม่เห็นด้วย ส่วนความเห็น
ต่อคำสั่ง คสช. ที่ให้ ผบ.ตร. คนปัจจุบันเป็นผู้เสนอชื่อ ผบ.ตร. คนใหม่แทน
นายกรัฐมนตรี ร้อยละ 64.5 บอกว่าเห็นด้วย
ขณะที่ร้อยละ 35.5 บอกว่าไม่เห็นด้วย
เช่นเดียวกับความเห็นต่อคำสั่ง คสช. ที่เพิ่มปลัดกลาโหมเข้าไปเป็นคณะกรรมการ
นโยบายตำรวจแห่งชาติหรือ ก.ต.ช.” ประชาชนร้อยละ 81.9 บอกว่าเห็นด้วย

ขณะที่ร้อยละ 18.1 บอกว่าไม่เห็นด้วย
 
                  ด้านความเห็นเกี่ยวกับเกณฑ์ที่ควรใช้ในการพิจารณาเลือก ผบ.ตร.
คนใหม่ ร้อยละ 89.5 เห็นว่าควรใช้เกณฑ์ความสามารถ และผลงานเป็นหลัก

มีเพียงร้อยละ 10.5 ที่เห็นว่าควรใช้เกณฑ์ลำดับอาวุโสเป็นหลัก
 
                 สุดท้ายเมื่อถามว่าสิ่งที่ต้องการให้ ผบ.ตร. คนใหม่ แก้ไขปัญหามากที่สุด ร้อยละ 34.8 ต้องการ
ให้แก้ปัญหา การคอร์รัปชั่น รับส่วย สินบน ของตำรวจ
รองลงมาคือปัญหาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
ของประชาชน(ร้อยละ 26.1) และปัญหายาเสพติด (ร้อยละ 20.0)
 
 
                 ดังรายละเอียดในตารางต่อไปนี้
 
             1. ความพึงพอใจต่อการทำหน้าที่ของตำรวจไทย ในปัจจุบัน

 
ร้อยละ
มากถึงมากที่สุด
(โดยแบ่งเป็นมากที่สุดร้อยละ 6.1 และมากร้อยละ 51.7)
57.8
น้อยถึงน้อยที่สุด
(โดยแบ่งเป็นน้อยร้อยละ 28.3 และน้อยที่สุดร้อยละ 13.9)
42.2
 
 
             2. ความเห็นต่อข้อคำถามที่ว่า “ท่านต้องการให้ คสช. ปฏิรูปวงการตำรวจหรือไม่”

 
ร้อยละ
ต้องการ
90.9
ไม่ต้องการ
9.1
 
 
             3. ความเห็นต่อข้อคำถามที่ว่า “ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับแนวคิดที่จะให้ตำรวจขึ้นตรงกับ
                 ผู้ว่าราชการจังหวัดที่มาจากการเลือกตั้ง”

 
ร้อยละ
เห็นด้วย
67.1
ไม่เห็นด้วย
32.9
 
 
             4. ความเห็นต่อข้อคำถามที่ว่า “ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับคำสั่ง คสช. ที่มีการปรับโครงสร้าง
                 คณะกรรมการนโยบายตำรวจเพื่อลดบทบาทของฝ่ายการเมือง”

 
ร้อยละ
เห็นด้วย
88.9
ไม่เห็นด้วย
11.1
 
 
             5. ความเห็นต่อข้อคำถามที่ว่า “ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับคำสั่ง คสช. ที่ให้ ผบ.ตร. คนปัจจุบันเป็นผู้
                 เสนอชื่อ ผบ.ตร. คนใหม่แทนนายกรัฐมนตรี”

 
ร้อยละ
เห็นด้วย
64.5
ไม่เห็นด้วย
35.5
 
 
             6. ความเห็นต่อข้อคำถามที่ว่า “ท่านเห็นด้วยหรือไม่ กับคำสั่ง คสช. ที่เพิ่มปลัดกลาโหมเข้าไป
                 เป็นคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติหรือ ก.ต.ช.”

 
ร้อยละ
เห็นด้วย
81.9
ไม่เห็นด้วย
18.1
 
 
             7. การพิจารณาเลือก ผบ.ตร. คนใหม่ ควรใช้เกณฑ์อะไรเป็นหลัก

 
ร้อยละ
ควรมาจากความสามารถ ผลงานเป็นหลัก
89.5
ควรมาจากลำดับอาวุโสเป็นหลัก
10.5
 
 
             8. สิ่งที่ท่านต้องการให้ ผบ.ตร. คนใหม่ แก้ไขปัญหามากที่สุด (5 อันดับแรก)

 
ร้อยละ
ปัญหาของตำรวจ การคอร์รัปชั่น รับส่วย สินบน
34.8
ปัญหาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน
26.1
ปัญหาการปราบปรามยาเสพติด
20.0
ปัญหาการใส่เกียร์ว่างของตำรวจ ไม่สนใจความเดือดร้อนประชาชน
7.3
ปัญหาตำรวจทำผิดกฎหมายเป็นตัวอย่างที่ไม่ดี เช่น ขับรถบนทางเท้า ขับฝ่าไฟแดง
4.0
 
 
รายละเอียดในการสำรวจ
วัตถุประสงค์ในการสำรวจ:
                  เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับ การปฏิรูปตำรวจไทย
และสิ่งที่อยากให้ ผบ.ตร. คนใหม่แก้ปัญหามากที่สุด
 
ประชากรที่สนใจศึกษา:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป โดยการสุ่มสัมภาษณ์
ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบ Simple Random Sampling แล้วใช้วิธีการ
ถ่วงน้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากสำนักงานสถิติแห่งชาติ
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน
ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์
ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  : 17 - 18 กรกฎาคม 2557
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 20 กรกฎาคม 2557
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:
   
             ชาย
634
51.2
             หญิง
605
48.8
รวม
1,239
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 30 ปี
220
17.8
             31 – 40 ปี
325
26.2
             41 – 50 ปี
324
26.2
             51 – 60 ปี
225
18.2
             61 ปีขึ้นไป
145
11.6
รวม
1,239
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
860
69.4
             ปริญญาตรี
303
24.5
             สูงกว่าปริญญาตรี
75
6.1
รวม
1,239
100.0
อาชีพ:
   
             ลูกจ้างรัฐบาล
158
12.8
             ลูกจ้างเอกชน
284
22.9
             ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว/ เกษตรกร
499
40.3
             เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง
62
5.0
             ทำงานให้ครอบครัว
6
0.5
             พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ
159
12.8
             นักเรียน/ นักศึกษา
47
3.8
             ว่างงาน/ รอฤดูกาล/ รวมกลุ่ม
24
1.9
รวม
1,239
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)
Email: bangkokpoll@bu.ac.th      โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776